สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย
Future Innovative Thailand Institute

• กระบวนการพัฒนาประเทศที่ดี มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและเป็นธรรม เป็นเรื่องที่พึงปรารถนาของประชาชนในทุกประเทศ มีความพยายามอย่างหลากหลายของรัฐบาลทั่วโลกที่ทดลองกระบวนการ และเครื่องมือที่แตกต่างกันออกไปตามบริบท อย่างไรก็ดีภายใต้ความแตกต่างดังกล่าวแต่กลับมีความเห็นร่วมกันว่าภายใต้สภาพปัญหาและความท้าทายที่ซับซ้อนนี้เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาจะต้องอยู่ที่ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนและสังคมไม่ใช่เพียงแต่เน้นการพัฒนาในมิติใดมิติหนึ่งเท่านั้นความอยู่ดีมีสุขดังกล่าว ไม่สามารถใช้การจัดทำแผน หรือนโยบายสาธารณะ ซึ่งถูกจัดการโดยกลุ่มผู้กำหนดนโยบายหรือผู้เชี่ยวชาญแต่เพียงลำพังได้อีกต่อไปแต่จำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งข้อมูลและความรู้ มาใช่ร่วมกับกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างไตร่ตรองทั้งการคิดการตัดสินใจและการร่วมกันดำเนินการ กับประชาชนทุก กลุ่มในสังคม อย่างแท้จริง ประเทศที่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เช่นกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ก็ล้วนแล้วแต่มีวิสัยทัศน์และมีการกำหนดเป้าหมายอนาคตอย่างชัดเจนนอกจากนั้นแล้วยังมีกลไกพร้อมยุทธศาสตร์การดำเนินการที่ต่อเนื่องเปิด โอกาสให้หลากหลายภาคส่วนได้เข้ามาร่วมดำเนินการซึ่งส่งผลลัพธ์ในการสร้างความอยู่ดีมีสุข และมั่งคั่งของประเทศได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยั่งยืน
• ประเทศไทยแม้ว่าจะมีการพัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วง 50 ปีหลังแต่ส่วนใหญ่ล้วนแล้ว เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่ บนต้นทุนทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรที่สูงเข้าไปแลกดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่างๆ เช่น คุณภาพชีวิต ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม การศึกษา สุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคและการใช้พลังงาน ล้วนแล้วแต่บ่งชี้ถึง ปัญหาและความท้าทายอย่างสูง หากไม่มีการปรับตัวและแก้ไขอย่างรวดเร็ว
• ด้วยสภาวะทางสังคมไทยที่ถูกละเลยให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมานาน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง ข้อมูลปัญหาที่แท้จริง การพัฒนาความรู้ในการแก้ปัญหาอย่างมีนวัตกรรมกระบวนการพัฒนา นโยบายสาธารณะ กระบวนการตัดสินใจและกระบวนการตรวจสอบและเรียนรู้ของสังคม ซึ่งวงจรดังกล่าว เป็นกุญแจสำคัญของการสร้างอนาคตที่ดีและความอยู่ดีมีสุขของสังคมได้ แม้อาจกล่าวได้ว่าแต่ละองค์ประกอบก็ได้มีการดำเนินการอยู่บ้างแล้วในสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นแบบแยกส่วนและเป็นปฏิปักษ์กันปัญหาความต้องการของประชาชน ความรู้ทางวิชาการ และอำนาจของภาครัฐ มักจะไม่ได้สอดคล้องต้องกันไปทำให้วงจรข้างต้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง
• สังคมไทยจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนากลไกที่มีนวัตกรรมสูงขึ้นมาเพื่อช่วยให้วงจรดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ต่อเนื่องไม่แยกส่วนและสามารถหนุนเสริมกันได้อย่างสมดุลย์มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีความเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งพลังความรู้ พลังทางสังคมและการใช้อำนาจเชิงนโยบายที่เหมาะสมเพื่อนำสู่อนาคตใหม่ร่วมกันของประเทศที่พึงปรารถนาได้
วัตถุประสงค์/OBJECTIVES
Learning and researching Thailand’s problems and challenges in order to analyze, synthesize and design effective pathways for sustainable development that everyone can understand and be a part of in the future.
ศึกษาค้นคว้าวิจัยปัญหาและความท้าทายสำคัญของประเทศ เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำมาออกแบบทางเลือกของการพัฒนาประเทศที่เป็นไปได้และยั่งยืนในอนาคต ที่ทุกคนสามารถเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินการได้
Developing public policy with high innovation, answering the needs and competitiveness of the country through research and discussions with all stakeholders within the community.
พัฒนานโยบายสาธารณะที่มีนวัตกรรมสูง ตอบสนองความต้องการและความท้าทายของประเทศ ได้อย่างเท่าทัน เพียงพอและแท้จริง ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า ไตร่ตรองอย่างมีส่วนร่วม กับทุกภาคส่วนในสังคม
Communicating an understanding of importance of the system that will drive and develop the society through careful learning techniques that will lead to a system of quality decision making for the society.
สื่อสารสร้างความเข้าใจ ในคุณค่าความสำคัญของกระบวนการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคม ผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างไตร่ตรอง เพื่อนำสู่กระบวนการตัดสินใจและอนาคตที่มีคุณภาพ ร่วมกันของสังคม
Building a diverse network of citizens for the development of the country. Engaging in a creative and open environment built upon knowledge and respect in different opinions by considering the good of the whole as a core value.
สร้างเครือข่ายพลเมืองเพื่อการพัฒนาประเทศที่มีความหลากหลาย ร่วมดำเนินการได้อย่างอิสระ สร้างสรรค์ ตั้งอยู่บนฐานข้อมูล ความรู้ เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน โดยยึดเอาประโยชน์ ของส่วนร่วมเป็นที่ตั้งอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม
กิจกรรมสำคัญ/KEY INITIATIVES
Policy Design Lab
Provide an opportunity for design thinking, social innovation and systemic change.ค่ายนโยบายเชิงนวัตกรรม เป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับกระแสของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลกที่พยายามคิดค้นเครื่องมือและ วิธีการใหม่ๆ มาตอบสนองโจทย์ความท้าทายของสังคมที่มีอยู่อย่างสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังเช่นในประเทศฟินแลนด์ [Hel-sinki Designlab] ประเทศเดนมาร์ก [Mindlab] ประเทศอังกฤษ [SIX: Social Innovation Exchange, Nesta] กระบวนการดังกล่าวให้ความ สําคัญกับการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างรอบด้าน มาประกอบกับสภาพปัญหาและบริบทจริงที่มี โดยเชิญกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติที่มีความ หลากหลายมาอยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิดอย่างสร้างสรรค์ ความเห็นทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติผ่านการเชิญชวนให้ ผู้เกี่ยวข้องได้เสียมาร่วมทําความเข้าใจอย่างไตร่ตรอง [deliberative process] ก่อนจะถูกนําไปทดลองปฏิบัติในบริบทที่หลากหลายแตกต่างกันไป
สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย จึงได้ผลักดันให้เกิดโครงการด้านนโนยบายเชิงนวัตกรรมโดยให้ความสําคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การศึกษา และ การเรียนรู้ [Education and Learning] 2) ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน [Sustainable Economy] และ 3) ธรรมภิบาลและ รัฐที่มีประสิทธิภาพสูง [Responsive Government] โดยเชื่อว่าผลที่ได้จากกิจกรรมดังกล่าวจะนําไปสู่การเริ่มตั้งคําถามกับทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตที่เราพึงประสงค์ และ สร้างทางเลือกที่ทุกภาคส่วนในสังคมรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตที่จะเกิดขึ้นนี้ร่วมกัน
Research for Practical Development
Focused on policy research relating to education, economy, responsive government and infrastructure, including research and study on corruption.
Consultancy Service
For individuals and communities to see and understand its own problem, have knowledge and passion to solve the problem and develop community capacity for the future.
วาระประเทศ – วิจัยเพื่อพัฒนา (Research for Practical Development)
การวิจัยเชิงนโยบาย สู่การออกแบบทางเลือกเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้ต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
ให้คำปรึกษา (Consultancy Service)
ให้คำปรึกษากับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยนำความเชี่ยวชาญทางด้านการวิจัยและการเชื่อมโยงนักวิชาการกับผู้ที่ต้องการคำปรึกษาเพื่อให้เกิดทางออกและผลลัพธ์ที่ยั่งยืนที่สุดสำหรับพื้นที่เป้าหมายที่มีความแตกต่างกัน
กิจกรรมเยาวชน (Youth Activities)
FIT ให้ความสำคัญกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ผู้มีความห่วงใยต่ออนาคตของประเทศชาติ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งรูปแบบรายการแข่งขัน ค่ายผู้นำเยาวชน และงานเสวนาต่างๆ เพื่อการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนคนรุ่นใหม่