Codekit

“ในประชากร 10,000 คน ที่อเมริกาจะมีโปรแกรมเมอร์ 100 คน แต่ในไทยมีเพียงแค่ 4 คน”

CodeKit : Programming ง่ายๆ เรียนได้ทุกคน

โปรแกรมเมอร์ และบุคลากรทางเทคโนโลยีกำลังขาดแคลนอย่างหนัก นอกเหนือจากกำลังการผลิตจากภาคมหาวิทยาลัยเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดจะไม่พอแล้ว จำนวนบุคลากรที่ทำงานตรงสายยิ่งน้อยลงไปอีก การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป จึงไม่สามารถพึ่งพาวิธีเดิมๆ จากการศึกษาในระบบเพียงอย่างเดียว

จากการลงพื้นที่กว่า 10 รอบ ในโรงเรียนประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย เราค้นพบ Key Learning ต่างๆ ดังนี้
1. เด็กๆ สนใจเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างมาก (คลาสคอมพิวเตอร์เต็มตลอด) แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่ จะไม่ได้เข้ามาเพื่อเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยตรง (เด็กเข้ามาเล่นเกม ดู Youtube หรือค้นหาข้อมูลต่างๆ) แต่เด็กก็ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีและเว็บไซต์ต่างๆ อย่างมาก
2. การค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท บทเรียนออนไลน์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากสำหรับนักเรียนนักศึกษาทุกระดับ
3. ภาษาอังกฤษ ยังเป็นอุปสรรคใหญ่ ที่ทำให้คนไทยไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลใหม่ๆ ดีๆ ได้
4. การโปรแกรมมิ่ง โค้ดดิ้ง ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยมากๆ
5. ภาษาโปรแกรมมิ่งที่เปลี่ยนไปไว ทำให้ครู อาจารย์ ต้องปรับตัวอย่างหนัก และบุคลากรด้านนี้ขาดแคลนมหาศาล
6. (สำคัญ) “”ประเทศเราถูกผลักดันด้วยข้อสอบ”” การผลักดันการศึกษาด้านเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่ง) จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการผลักดันเป็นวิชาสอบหลัก

ในตอนเริ่มต้น CodeKit ตั้งใจจะ ทำ platform และคลาสที่สอน programming skill ให้กับเด็กชั้นประถ และมัธยม แต่จากการศึกษาตลาดเราพบว่า
– เด็กเล็ก – เร็วไป เพราะเด็กต้องการทักษะพื้นฐานก่อน
– ระดับประถม – ยังไม่เหมาะ เพราะเด็กต้องการทักษะด้านการคิดแบบ logical thinking ก่อน และต้องทำให้เด็ก “”สนใจ”” มากๆ ด้วยเกม ก่อนที่จะสอนให้ลึกขึ้น
– ระดับมัธยม – เหมาะแค่บางส่วนกับกลุ่มเด็กที่สนใจวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ เพราะเด็กที่เก่งและสนใจ จะเรียนรู้ได้เร็วมาก ซึ่งดีกว่าการเรียนรู้แบบอื่นที่โรงเรียนมีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยมากๆ (ประมาณ1 ใน 500) ด้วยความที่มีเด็กสนใจเป็นจำนวนน้อย ทำให้โรงเรียนไม่กล้าที่จะนำมาใช้ในภาพใหญ่ และการตีความวิชาคอมพิวเตอร์ ก็ยังมีความแตกต่างกันมากในแต่ละโรงเรียน บางโรงเรียนที่เน้นความรู้ใหม่ๆ จะสนใจใช้ แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ (95% ที่เหลือ) จะยังไม่สนใจ
– ระดับมหาวิทยาลัย – เป็นระดับที่เหมาะสม ในคณะที่เกี่ยวข้อง (เช่น วิศวะคอมฯ วิทยา คอมฯ IT Robot หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเยอะๆ เช่น นิเทศ media digital marketing ฯลฯ)

*ข้อแนะนำสำหรับหน่วยงาน สสวท / กระทรวงศึกษา
1. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เช่น กิจกรรมกระจายความรู้คู่ความสนุกที่ทำกับภาคเอกชน โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
2. บังคับใช้การสอบวัดผล ที่เกี่ยวข้องกับการ programming / coding ใน คณะที่เกี่ยวข้อง ในระดับมหาวิทยาลัย (เช่น หากจะเข้า วิศวะคอมฯ / วิทยา คอมฯ / IT จะต้องกำหนดให้มีการสอบพื้นฐานวิชานั้นๆ เลย และตัดการวัดผลวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องออก เช่น เคมี ชีวะ ไม่เกี่ยวข้องกับ วิศวะคอมฯ ไม่ควรอยู่ในผลสอบที่ใช้ยื่น)
3. Revise “”ระบบ”” และ “”ข้อกำหนด”” เก่าๆ ที่ทางกระทรวงศึกษาเคยมี
– บางอย่าง ขัดแย้งในตัวเอง เช่น – “”เพิ่มเวลาเล่น ลดเวลาเรียน”” แต่ สสวท. กลับมีการวัดผลที่ทำให้ครูอาจารย์ต้อง “”สอนให้มากขึ้น””
– ระบบการจัดซื้อจัดจ้างและงบประมาณ ทำจากศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว ทำให้เชื่องช้า โรงเรียนไม่มีงบสำหรับการบริหารด้วยตัวเองเท่าไรนัก อำนาจตัดสินใจในการจัดการงบมีจำกัด ทำให้โรงเรียนไม่สามารถที่จะจัดซื้อจัดจ้าง หรือหางบประมาณมาทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เอง
– เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการสอนหรือให้ความรู้ด้วย ไม่จำเป็นต้องจำกัดแค่ครู เพราะครูอาจารย์ปัจจุบัน ไม่สามารถตามทันกับข้อมูลทั้งหมด
(เช่น คนนอก ก็สอนได้ ไม่ต้องให้ครูสอนอย่างเดียว – จัดกิจกรรมให้สังคมมีส่วนร่วม เช่น “”สังคมสอนโรงเรียน”” “”ธุรกิจสอนโรงเรียน””

*ข้อแนะนำสำหรับภาครัฐโดยรวม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (เช่น กระทรวงวิทย์)
1. ผลักดันโครงการประกวด หรือการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น ในระดับมหาวิทยาลัย / โรงเรียน
2. สนับสนุนไปยังสมาคมฯ และผู้ประกอบการต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรง ให้มีส่วนร่วมกับภาคการศึกษา เช่น ให้สมาคมฯ จัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน

ดังนั้น เพื่อให้ภาพดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น Codekit จึงอยากจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้การสอน coding ง่ายขึ้น ทั้งกับผู้สอนและผู้เรียน CodeKit for Uni คือคลาสเรียนออนไลน์ด้านโปรแกรมมิ่ง สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและคนทั่วไปที่สนใจ สามารถเรียนได้ 24 ชั่วโมง เข้าใจง่ายเป็นขั้นตอน โดยเราออกแบบให้สามารถใช้ในห้องเรียนจริงเพื่อช่วยสอนได้ หรือจะเรียน online อย่างเดียวก็ได้ โดยสามารถใช้สอน Basic AI, Data Sci, IoT ทำให้คนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ เข้าใจได้ไม่ยาก

ในปัจจุบัน มีคลาสที่สอนทำเว็บไซต์พื้นฐาน (HTML CSS JavaScript) ได้
กำลังพัฒนาภาษาอื่นๆ คือ Java และ Python เพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้สอนในวิชาชีพที่ยากขึ้น เช่น Big Data, AI, Machine Learning, IoT & Robotic, Blockchain

ลดเวลาและภาระการสอน สร้างมาตรฐานเดียวกันในการเรียน และทำให้การเรียนรู้ วัดผลได้และเข้าใจง่ายขึ้น
—–

ทีม CodeKit กำลังมองหาความช่วยเหลือจากภาครัฐ ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการริเริ่มและทดลองการเรียนรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีและโปรแกรมมิ่ง โดยใช้ tools ใหม่ๆ โดยเริ่มจากระดับมหาวิทยาลัยเป็นหัวเรือหลัก เราหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยการศึกษารูปแบบใหม่ ไปด้วยกันกับคนไทยทุกคน

Govtech Mission “One Nation, One Mission” #ยกระดับประเทศไทย #EdTech

Codekit

"ในประชากร 10,000 คน ที่อเมริกาจะมีโปรแกรมเมอร์ 100 คน แต่ในไทยมีเพียงแค่ 4 คน"CodeKit : Programming ง่ายๆ เรียนได้ทุกคนโปรแกรมเมอร์ และบุคลากรทางเทคโนโลยีกำลังขาดแคลนอย่างหนัก นอกเหนือจากกำลังการผลิตจากภาคมหาวิทยาลัยเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดจะไม่พอแล้ว จำนวนบุคลากรที่ทำงานตรงสายยิ่งน้อยลงไปอีก การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป จึงไม่สามารถพึ่งพาวิธีเดิมๆ จากการศึกษาในระบบเพียงอย่างเดียวจากการลงพื้นที่กว่า 10 รอบ ในโรงเรียนประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย เราค้นพบ Key Learning ต่างๆ ดังนี้1. เด็กๆ สนใจเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างมาก (คลาสคอมพิวเตอร์เต็มตลอด) แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่ จะไม่ได้เข้ามาเพื่อเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยตรง (เด็กเข้ามาเล่นเกม ดู Youtube หรือค้นหาข้อมูลต่างๆ) แต่เด็กก็ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีและเว็บไซต์ต่างๆ อย่างมาก2. การค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท บทเรียนออนไลน์ต่างๆ เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากสำหรับนักเรียนนักศึกษาทุกระดับ 3. ภาษาอังกฤษ ยังเป็นอุปสรรคใหญ่ ที่ทำให้คนไทยไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลใหม่ๆ ดีๆ ได้4. การโปรแกรมมิ่ง โค้ดดิ้ง ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยมากๆ5. ภาษาโปรแกรมมิ่งที่เปลี่ยนไปไว ทำให้ครู อาจารย์ ต้องปรับตัวอย่างหนัก และบุคลากรด้านนี้ขาดแคลนมหาศาล6. (สำคัญ) ""ประเทศเราถูกผลักดันด้วยข้อสอบ"" การผลักดันการศึกษาด้านเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่ง) จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการผลักดันเป็นวิชาสอบหลัก ในตอนเริ่มต้น CodeKit ตั้งใจจะ ทำ platform และคลาสที่สอน programming skill ให้กับเด็กชั้นประถ และมัธยม แต่จากการศึกษาตลาดเราพบว่า- เด็กเล็ก – เร็วไป เพราะเด็กต้องการทักษะพื้นฐานก่อน- ระดับประถม – ยังไม่เหมาะ เพราะเด็กต้องการทักษะด้านการคิดแบบ logical thinking ก่อน และต้องทำให้เด็ก ""สนใจ"" มากๆ ด้วยเกม ก่อนที่จะสอนให้ลึกขึ้น- ระดับมัธยม – เหมาะแค่บางส่วนกับกลุ่มเด็กที่สนใจวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ เพราะเด็กที่เก่งและสนใจ จะเรียนรู้ได้เร็วมาก ซึ่งดีกว่าการเรียนรู้แบบอื่นที่โรงเรียนมีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยมากๆ (ประมาณ1 ใน 500) ด้วยความที่มีเด็กสนใจเป็นจำนวนน้อย ทำให้โรงเรียนไม่กล้าที่จะนำมาใช้ในภาพใหญ่ และการตีความวิชาคอมพิวเตอร์ ก็ยังมีความแตกต่างกันมากในแต่ละโรงเรียน บางโรงเรียนที่เน้นความรู้ใหม่ๆ จะสนใจใช้ แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ (95% ที่เหลือ) จะยังไม่สนใจ- ระดับมหาวิทยาลัย – เป็นระดับที่เหมาะสม ในคณะที่เกี่ยวข้อง (เช่น วิศวะคอมฯ วิทยา คอมฯ IT Robot หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเยอะๆ เช่น นิเทศ media digital marketing ฯลฯ)*ข้อแนะนำสำหรับหน่วยงาน สสวท / กระทรวงศึกษา1. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม เช่น กิจกรรมกระจายความรู้คู่ความสนุกที่ทำกับภาคเอกชน โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย2. บังคับใช้การสอบวัดผล ที่เกี่ยวข้องกับการ programming / coding ใน คณะที่เกี่ยวข้อง ในระดับมหาวิทยาลัย (เช่น หากจะเข้า วิศวะคอมฯ / วิทยา คอมฯ / IT จะต้องกำหนดให้มีการสอบพื้นฐานวิชานั้นๆ เลย และตัดการวัดผลวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องออก เช่น เคมี ชีวะ ไม่เกี่ยวข้องกับ วิศวะคอมฯ ไม่ควรอยู่ในผลสอบที่ใช้ยื่น)3. Revise ""ระบบ"" และ ""ข้อกำหนด"" เก่าๆ ที่ทางกระทรวงศึกษาเคยมี – บางอย่าง ขัดแย้งในตัวเอง เช่น – ""เพิ่มเวลาเล่น ลดเวลาเรียน"" แต่ สสวท. กลับมีการวัดผลที่ทำให้ครูอาจารย์ต้อง ""สอนให้มากขึ้น"" – ระบบการจัดซื้อจัดจ้างและงบประมาณ ทำจากศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว ทำให้เชื่องช้า โรงเรียนไม่มีงบสำหรับการบริหารด้วยตัวเองเท่าไรนัก อำนาจตัดสินใจในการจัดการงบมีจำกัด ทำให้โรงเรียนไม่สามารถที่จะจัดซื้อจัดจ้าง หรือหางบประมาณมาทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เอง- เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการสอนหรือให้ความรู้ด้วย ไม่จำเป็นต้องจำกัดแค่ครู เพราะครูอาจารย์ปัจจุบัน ไม่สามารถตามทันกับข้อมูลทั้งหมด(เช่น คนนอก ก็สอนได้ ไม่ต้องให้ครูสอนอย่างเดียว – จัดกิจกรรมให้สังคมมีส่วนร่วม เช่น ""สังคมสอนโรงเรียน"" ""ธุรกิจสอนโรงเรียน""*ข้อแนะนำสำหรับภาครัฐโดยรวม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (เช่น กระทรวงวิทย์)1. ผลักดันโครงการประกวด หรือการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น ในระดับมหาวิทยาลัย / โรงเรียน2. สนับสนุนไปยังสมาคมฯ และผู้ประกอบการต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรง ให้มีส่วนร่วมกับภาคการศึกษา เช่น ให้สมาคมฯ จัดกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนดังนั้น เพื่อให้ภาพดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น Codekit จึงอยากจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้การสอน coding ง่ายขึ้น ทั้งกับผู้สอนและผู้เรียน CodeKit for Uni คือคลาสเรียนออนไลน์ด้านโปรแกรมมิ่ง สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและคนทั่วไปที่สนใจ สามารถเรียนได้ 24 ชั่วโมง เข้าใจง่ายเป็นขั้นตอน โดยเราออกแบบให้สามารถใช้ในห้องเรียนจริงเพื่อช่วยสอนได้ หรือจะเรียน online อย่างเดียวก็ได้ โดยสามารถใช้สอน Basic AI, Data Sci, IoT ทำให้คนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ เข้าใจได้ไม่ยากในปัจจุบัน มีคลาสที่สอนทำเว็บไซต์พื้นฐาน (HTML CSS JavaScript) ได้ กำลังพัฒนาภาษาอื่นๆ คือ Java และ Python เพื่อเป็นพื้นฐานในการใช้สอนในวิชาชีพที่ยากขึ้น เช่น Big Data, AI, Machine Learning, IoT & Robotic, Blockchain ลดเวลาและภาระการสอน สร้างมาตรฐานเดียวกันในการเรียน และทำให้การเรียนรู้ วัดผลได้และเข้าใจง่ายขึ้น—–ทีม CodeKit กำลังมองหาความช่วยเหลือจากภาครัฐ ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการริเริ่มและทดลองการเรียนรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีและโปรแกรมมิ่ง โดยใช้ tools ใหม่ๆ โดยเริ่มจากระดับมหาวิทยาลัยเป็นหัวเรือหลัก เราหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศด้วยการศึกษารูปแบบใหม่ ไปด้วยกันกับคนไทยทุกคนGovtech Mission "One Nation, One Mission" #ยกระดับประเทศไทย #EdTech

โพสต์โดย Future Innovative Thailand Institute เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม 2019